เหล็กโครงสร้าง

เหล็กแบน, เหล็กพืด (Flat bar)

การดัดเหล็กแบนทำได้หลายแบบดังนี้

  1. ด้านแบน, ด้านง่าย, ด้านเข็มขัด (On-Flat)
  2. ด้านสัน, ด้านยาก, ด้านหน้าแปลน (On-Edge)
  3. ด้านเฉียง (Incline way)
  4. ม้วนเป็นสปริง (Spiral)

1. ด้านแบน, ด้านง่าย, ด้านเข็มขัด (On-Flat)


รูปแสดงเหล็กแบนที่ถูกดัดด้านง่าย

การดัดด้านนี้นับเป็นแบบการดัดเบื้องต้นของงานดัดเหล็ก เพราะสามารถใช้งานได้หลากหลายมาก และ สามารถดัดได้ง่ายด้วยเครื่องจักรแบบทั่วไป (เครื่องดัดเหล็กแผ่น) หรือดัดด้วยมือเปล่า (สมัยก่อนนิยมทำกันมาก คือ ใช้ดัดกับถัง เสาหลัก หรือหมุดที่เป็นไม้หรือเหล็ก) ช่างทำหน้าต่างเหล็กดัด ใช้เพียงคีม 2 อัน (คีมลักษณะเฉพาะ) ก็สามารถดัดได้แล้ว

เราสามารถดัดเหล็กแบนได้ทุกขนาดตั้งแต่ 12x3 จนถึง 400x25 มม. โดยเสียหัวเหล็กน้อยมาก และในบางกรณีอาจไม่เสียหัวเหล็กเลย

2. ด้านสั้น, ด้านยาก, ด้านหน้าแปลน (On-Edge)


รูปแสดงเหล็กแบนที่ถูกดัดด้านยาก

การดัดด้านนี้ไม่สามารถทำด้วยมือเปล่าได้ เพราะเหล็กจะมีความแข็งมาก ทั้งยังอาจเสียรูปขณะดัดได้อีก คือเนื้อเหล็กบวมหรือย่นขณะดัด จึงต้องมีลูกกลิ้งประคองตัวเหล็กทุกด้าน และต้องสนิทกับเนื้อเหล็กอีกด้วย ดังนั้นลูกกลิ้งจะต้องแข็งและลื่น เพื่อไม่ให้กัดเนื้อเหล็กเป็นรอยขีดข่วนขณะดัด

การใช้งานใช้ทำหน้าแปลนท่อ/ถัง โดยทำให้ไม่ต้องเสียแผ่นเหล็กมาตัดเป็นวงและทิ้งรูตรงกลางไปดังรูปด้านล่าง



การดัดด้วยเหล็กแบนจะได้งานที่เที่ยงตรงและสวยกว่าการตัดแก๊สจากเหล็กแผ่นมาก และประหยัดกว่าหลายเท่าตัว

แต่สำหรับหน้าแปลนที่มีขนาดเล็ก การดัดจะไม่คุ้มค่าเศษเนื้อเหล็กที่เสียไป (โดยปกติขนาดรูเล็กกว่า Ø300 มม.) แต่ก็มีบางงานที่จำเป็นต้องดัดจากเหล็กแบน เช่น เป็นวัสดุราคาแพงหรือหายาก(SUS316, SUS310, ไททาเนียม)

เราสามารถดัดได้ตั้งแต่ 12x3 ที่ Ø150 จนถึง 250x100 ที่ Ø2000

ยิ่งเหล็กหนาจะยิ่งดัดได้วงเล็ก เนื่องจากเหล็กบางไม่สามารถดัดวงเล็กมากได้ เพราะเนื้อเหล็กจะย่นเสียรูป

3. ด้านเฉียง (Incline way)


รูปแสดงเหล็กแบนที่ถูกดัดด้านเฉียง

ใช้สำหรับทำกระดูกหลังคาโค้ง, ขอบกระจก, งานตกแต่ง, กรวย, ท่อลด

เราได้พัฒนาลูกรีดจนสามารถดัดเหล็กแบบด้านเฉียงได้ทุกองศาตั้งแต่ 0-90 องศา และทุกขนาดเหมือนการดัดเหล็กแบนด้านสัน (On-Edge)

4. ม้วนเป็นสปริง (Spiral)

โดยปกติการม้วนเหล็กแบนด้านสัน จะต้องเสียหัวเหล็กประมาณข้างละ 2-3 เท่าของความหนา ดังนั้นเพื่อประหยัดหัวเหล็กที่ต้องตัดทิ้งไป จึงมีการดัด-ม้วนเป็นสปริง คือม้วนต่อเนื่องกันซ้อนกันหลายๆวงจนสุดความยาวเหล็ก 6000 มม. แล้วค่อยนำมาตัดเป็นวงๆ


นอกจากนี้ยังมีการดัดแบบพิเศษอื่น ๆ เช่น งานราวบันไดเวียน, เกลียวสปริง, เครื่องผสมอาหาร/สารเคมี, เกลียวลำเลียงวัสดุผง/เหลว